เดินทางมาถึงเดือนที่ 6 แล้วนะ ลูกน้อยมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการด้านต่างๆอย่างชัดเจน ซึ่ง พัฒนาการทารก 6 เดือน ลูกน้อยตะแคง คว่ำ คลานได้อย่างคล่องตัว และจะเริ่มคลานได้บ้างแล้ว คุณพ่อคุณแม่เก่งมากๆเลย ที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ให้ลูกน้อยเติบโตได้สมวัย ตามมาดูกันเลยว่า พัฒนาการทารก 6 เดือน มีอะไรที่คุณแม่ต้องระมัดระวัง และส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยบ้าง
พัฒนาการทารก 6 เดือน ทำอะไรได้บ้างนะ
พัฒนาการทางด้านการเคลื่อนไหวของทารก 6 เดือน
- ลูกน้อยสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของลำตัวได้มากขึ้น
- จากท่านอนคว่ำสามารถยันแขนและขาทั้งสองข้างขึ้นได้
- ลูกน้อยสามารถพลิกตัวจากท่านอนคว่ำเป็นท่านอนหงายได้
- ลูกน้อยสามารถจับสิ่งของด้วยมือทั้งสองข้างโดยเปลี่ยนจากมืออีกข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งได้
- ฟันซี่แรกของลูกน้อยเริ่มขึ้นแล้วนะ
- ลูกน้อยทำท่าคืบคลานคลานไปข้างหน้าหรือคลานไปข้างหลัง
พัฒนาการทางด้านความสัมพันธ์ของทารก 6 เดือน
- ลูกน้อยสามารถแยกแยะได้ว่าเสียงนั้นเป็นเสียงแสดงอารมณ์โกรธเป็นเสียงอารมณ์ที่คุยทั่วไปหรือเป็นเสียงแบบเศร้าโศกเสียใจ
- หนูชอบส่งเสียงพูดคุยและคุยได้นานขึ้นแบบไม่ค่อยเป็นภาษาเท่าไหร่
พัฒนาการทางด้านภาษา/สติปัญญาของทารก 6 เดือน
- ลูกน้อยสามารถแย่งช้อนเวลาป้อนอาหารได้เป็นสัญญาณบอกว่าลูกน้อยพร้อมทานข้าวเองได้แล้วนะ
- ลูกน้อยนอนยาวหลับสนิทถึง 12 ชั่วโมงในตอนกลางคืน
- ลูกน้อยเริ่มเข้าใจแล้วว่าหนูมีความแตกต่างจากแม่
- ลูกน้อยเริ่มจำชื่อตัวเองได้แล้วเวลาคุณพ่อคุณแม่เรียกหนูจะเริ่มหัน

1. ฟันเริ่มขึ้นแล้วนะ
ภายในเหงือกจะมีฟันซี่เล็กๆซ่อนอยู่เป็นสีขาวๆ ซึ่งหากลูกน้อยปวดเหงือกหรือคันเหงือกนั้น ลูกน้อยจะมีอาการงอแงในตอนกลางคืนหรือใช้นิ้วดันเหงือกตัวเอง คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยลูกน้อยนวดเหงือกเพื่อลดอาการปวดเหงือกคันเหงือกได้หรือลองใช้จุกหลอกหรือยางกัดแช่ตู้เย็นเพื่อให้ยางกัดมีความเย็นเล็กน้อย แล้วจึงให้ลูกน้อยกัดเล่นจะช่วยลดอาการปวดเหงือกได้ดีเช่นกัน และเมื่อฟันลูกน้อยขึ้นซี่แรกอย่าลืมพาลูกน้อยไปพบทันตแพทย์ด้วยนะคะ ซึ่งในเด็กบางคน ฟันจะยังไม่ขึ้นในเดือนที่ 6 แต่อาจจะขึ้นในเดือนที่ 11 หรือ 12 ก็เป็นได้

2. ยันแขนและขาขึ้นจากท่าคว่ำ
ในพัฒนาการทารก 6 เดือน ของลูกน้อย หลังจากที่คว่ำได้บ้างแล้ว ลูกน้อยจะเริ่มยันแขนทั้งสองข้างขึ้นและยันขาทั้งสองข้างเตรียมพร้อมที่จะคลาน คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยลูกน้อยในการดันก้นเบาๆเพื่อให้ ลูกน้อยสามารถรับรู้ได้ว่าการเคลื่อนตัวไปข้างหน้านั้นจะทำได้อย่างไรบ้าง และเพื่อให้ลูกน้อยคลานได้รวดเร็วยิ่งขึ้นคุณพ่อคุณแม่อาจหาสิ่งของหรือของเล่นที่ลูกน้อยสนใจหลอกล่อ วางไว้ข้างหน้า เพื่อทำให้ลูกน้อยอยากคลานมาข้างหน้าได้มากยิ่งขึ้น

3. เปลี่ยนจากท่าคว่ำเป็นหงายได้
ก่อนหน้านี้ลูกน้อยสามารถ พลิกตัว ตะแคงตัว คว่ำ ได้ แต่ในเดือนที่ 6 นี้ ลูกน้อยสามารถเปลี่ยนจากท่าคว่ำเป็นท่านอนหงายได้ ซึ่งทำให้ลูกน้อยสามารถพลิกตัวไปมาในท่านอนหงายได้อย่างสบายๆ

4 . นั่งได้นานขึ้น
ก่อนหน้านี้ที่คุณพ่อคุณแม่ได้ฝึกหนูนั่งมาตลอด จึงทำให้พัฒนาการทารก 6 เดือนของหนูนั้น หนูสามารถนั่งได้นานขึ้นแล้วนะเพราะว่าคอของหนูเริ่มแข็งแรง หลังของหนูก็เริ่มแข็งแรง หนูสามารถนั่งตัวตรงหลังตรง และสามารถหยิบสิ่งของของเล่นหรือตุ๊กตาขึ้นมา ในขณะที่นั่งอยู่ได้ด้วยนะ

5. แยกอารมณ์ของเสียงได้
ลูกน้อยสามารถรับรู้ และเข้าใจอารมณ์จากน้ำเสียงที่ได้ยิน สามารถแยกแยะได้ว่าเสียงใดคืออารมณ์โกรธ ดีใจ โศกเศร้า หรือพูดคุยทั่วไป ฉะนั้นเวลาแม่ทำเสียงดุ ลูกน้อยก็จะเริ่มแยกออกนะว่าตอนนี้แม่กำลังดุอยู่ หากคุณพ่อคุณแม่หัวเราะบ่อยๆ ยิ้มและร่าเริง ก็อาจทำให้หนูอารมณ์ดี กลายเป็นเด็กยิ้มง่าย อารมณ์ดีแจ่มใสได้ด้วยนะ

6. จำชื่อตัวเองได้แล้ว
นอกจากนี้หนูยังเริ่มจำคำศัพท์เป็นคำๆได้แล้ว คำอะไรที่คุณพ่อคุณแม่พูดบ่อยๆ หนูจะเริ่มเรียนรู้และรับรู้ได้ว่าคำนั้นหมายความว่าอย่างไร และหนูก็ยังเริ่มจำชื่อตัวเองได้อีกด้วยนะ ทุกครั้งที่เรียกชื่อหนู มัทฉะหรือว่าโมจิ หนูจะเริ่มตอบสนองด้วยการหันหน้าไปทางเสียงนั้นๆ หรือยิ้มให้ทันที ในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มฝึกให้หนูจำคำศัพท์เป็นคำๆและสอนหนูพูดได้บ้าง หนูจะเริ่มมองปากถึงแม้ฃ จะยังพูดตามไม่ได้แต่หนูก็จดจำได้เป็นอย่างดี

7. นอนยาวตอนกลางคืน
ช่วงกลางคืนเป็นช่วงที่หนูเริ่มนอนยาว หนูสามารถนอนยาวได้เฉลี่ยถึง 12 ชั่วโมงเชียวนะ หนูจะไม่ร้องแล้วตื่นมากินนมกลางดึกแล้ว หากคุณพ่อคุณแม่ทำให้บรรยากาศในห้องนอนน่านอน และนอนหลับสบาย อุณหภูมิพอเหมาะ ไม่มีเสียงใดๆรบกวน จะช่วยให้หนูนอนหลับได้ดีมากยิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการทารก 6 เดือน ของหนูในหลายๆด้านอีกด้วย

8. ทำท่าคืบคลาน ไปข้างหน้า/หลัง
ในเดือนนี้หนูสามารถยันตัวขึ้นและหนูก็เริ่มทำท่าคืบคลานแล้ว โดยหนูจะเริ่มยกก้นสูงขึ้นและ คืบคลานไปข้างหน้าหรือข้างหลัง เมื่อหนูเริ่มทำได้หนูจะรู้สึกว่าหนูสนุกกับการคลานดังนั้นหนูจะเริ่มคลานบ่อยๆ ในแต่ละวันคุณพ่อช่วยแม่ช่วยระวังเรื่องความปลอดภัยให้หนูด้วยนะคะ อาจจะคอยจัดโซนให้หนูคลานได้อย่างปลอดภัย เช่นให้หนูคลานในคอกกั้นเด็กหรือในพื้นที่ที่มีคนดูแลอย่างใกล้ชิด

9. ส่งเสียงคุย นานขึ้น
หลังจากหนูเริ่มอ้อแอ้แล้ว เดือนที่ 6 นี้ หนูจะเริ่มส่งเสียงคุยได้นานยิ่งขึ้นแต่ก็ยังไม่เป็นภาษาอยู่ดี แต่หนูสามารถส่งเสียงเพื่อแสดงอารมณ์ของตัวเองผ่านเสียงที่สูงต่ำได้มากขึ้น หนูชอบพูดมากขึ้นด้วยถ้ามีคนคุยกับหนูเนี่ยหนูจะชอบพูดมากยิ่งขึ้น

จะเห็นได้ว่าพัฒนาการทารก 6 เดือน นั้นมีความแตกต่างและมีการพัฒนาอย่างเห็นได้ชัด จากเดือนก่อนหน้ามากๆ ทั้งการพัฒนาการทางด้านการเคลื่อนไหว พัฒนาการทางด้านความสัมพันธ์ พัฒนาการทางด้านภาษาและสติปัญญา ซึ่งลูกน้อยในวัย 6 เดือนนี้ จะสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของตัวเองได้มากขึ้น สามารถนอนคว่ำ พลิก ตะแคง ได้อย่างคล่องตัวและรวดเร็ว เริ่มส่งเสียงพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ เริ่มแสดงอาการสีหน้าท่าทางบ่งบอกอารมณ์ต่างๆและบ่งบอกความต้องการของตัวเองได้มากขึ้น คุณแม่จะรู้สึกว่าพัฒนาการทารก 6 เดือน นั้นมีหลากหลายและพัฒนาได้อย่างแตกต่างและชัดเจน คุณพ่อคุณแม่ยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการในทุกๆด้านของลูกน้อยวัย 6 เดือนได้ อย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้ลูกน้อยมั่นใจและมีพัฒนาการที่ดีต่อไป
ติดตามพัฒนาการทารก 6 เดือน และ พัฒนาการของทารกเดือนอื่นๆได้ที่ www.tateestory.com หรือติดตามผ่านช่องทางอื่นๆ ทั้ง Facebook, Youtube และ Instagram ได้ตามที่ด้านล่างนี้เลย