เราจะรู้ได้อย่างไรว่าช้อนแบบไหนที่เหมาะกับเด็กๆที่เริ่มกินข้าว และเมื่อใช้ช้อนเด็กคล่องแล้ว ต้องเปลี่ยนมาใช้ช้อนแบบไหน แล้วต้องเปลี่ยนเมื่อไหร่ หัวข้อนี้มิ้วมีคำตอบให้ค่ะ
มิ้วเป็นคุณแม่มือใหม่ที่มีลูกแฝด พยายามจะหาวิธีปั้มนม วิธีเพิ่มน้ำนม เพื่อให้เพียงพอสำหรับเด็กสองคน ซึ่งมิ้วเองก็เป็นคุณแม่มือใหม่ที่ผ่านการปั๊มนมแบบผิดวิธี
หลายครั้งแม่ๆอาจรู้สึกว่าวันหนึ่งๆเราหมดพลังไปกับการเลี้ยงลูกเยอะมาก ต้องดูแลลูกทั้งวันเลย แต่เมื่อลูกเริ่มโตขึ้น ลูกจะเริ่มช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น มีวินัยมากขึ้น โดยผ่านการฝึกฝนทุกวันๆ ซึ่งการฝึกให้ลูกได้ช่วยเหลือตัวเองนั้น เป็นสิ่งที่จะทำให้แม่ๆเหนื่อยน้อยลง มีเวลามากขึ้นเป็นผลดีกับทั้งลูก และแม่เลยนะคะ ซึ่งวันนี้มิ้วจะมาแชร์ 9 เทคนิค ฝึกลูกกินข้าวเอง จากประสบการณ์ของมิ้วเองที่ฝึกมัทฉะกับโมจิแล้วได้ผลมากๆเลยค่ะ ทั้งหมด 9 ข้อนี้ช่วยทำทุกวันทีละเล็กละน้อย ดูเหมือนเล็กน้อย แต่สิ่งเหล่านี้สร้างวินัยและนิสัยการกินที่ดีให้เด็กๆในระยะยาวนะคะ 9 เทคนิค ฝึกลูกกินข้าวเอง 1.ฝึกนั่งบนโต๊ะกินข้าวทุกครั้ง การฝึกลูกน้อยนั่งบนโต๊ะกินข้าว หรือเก้าอี้ทานข้าวของตัวเอง สามารถทำได้ตั้งแต่เริ่มกินข้าวมื้อแรกได้เลยนะคะ เพราะการให้ข้าวมื้อแรกของเด็กทารกนั้น ลูกน้อยต้องสามารถนั่งได้แล้ว โดยส่วนใหญ่จะให้ทานมื้อแรกคืออายุราวๆ 6 เดือนค่ะ แนะนำเก้าอี้กินข้าว ซึ่งเก้าอี้นั่งทานข้าว ควรเป็นเก้าอี้ทานข้าวที่ปลอดภัย มีสายล็อคตัว สายรัดหน้าอก และมีพนักพิงหลังและคอค่ะ โดยการ ฝึกลูกกินข้าวเอง แบบนี้ทุกมื้ออาหาร จะทำให้เค้าคุ้นเคยกับเก้าอี้ทานข้าวของตัวเอง เมื่อเราอุ้มมาที่เก้าอี้นี้ ลูกจะเรียนรู้ว่าถึงเวลากินข้าวแล้ว และไม่งอแงวิ่งไปวิ่งมาระหว่างกินข้าว 2.กินข้าวเป็นเวลา ในช่วงที่ลูกยังเล็กการฝึกทานข้าวเป็นเวลา อาจจะยากหน่อยนะคะในช่วงแรกๆ เพราะเด็กทารกมักจะนอนเยอะ บางครั้งอาจนอนเลยเวลาทานข้าวไปบ้าง ต้องให้เวลาปรับตัวสักระยะหนึ่งค่ะ โดยมื้อแรกเริ่มจากการเพิ่มมื้อข้าว 1 มื้อแทนมื้อนมก่อน อาจจะให้กินเป็นช่วง…
สำหรับมัทฉะโมจิ เริ่มเกาะยืนตั้งแต่ 9 เดือนและเดินได้ตอน 1 ขวบ 4 เดือนค่ะ ซึ่งช่วงที่เดินยังไม่แข็งนี่แหละค่ะที่ทำให้แม่ๆอย่างเราต้องระวังเป็นพิเศษ
ท่อน้ำนมอุดตัน น้ำนมหด น้ำนมไม่มา น้ำนมน้อย ปัญหาเหล่านี้ คือ ปัญหาที่คุณแม่มือใหม่หลายๆคนที่ต้องให้นมลูกน้อย ต้องเจออย่างแน่นอน
เมื่อลูกน้อยเริ่มทานข้าว คุณแม่หลายๆท่านอาจมีความกังวล ลูกไม่ยอมกินข้าว ลูกกินข้าวน้อย ลูกกินยาก ทำอย่างไรดี ซึ่งลูกน้อยจะเริ่มทานข้าวตามคุณหมอประเมิน